วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

ครั้งที่ 1 มารู้จักสวนดุสิตกันเถอะ
ประโยชน์ที่ได้จากเรื่องนี้คือ ประวัติความเป็นมาต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

ครั้งที่ 2 การประกันคุณภาพ
ในเรื่องของการประกันุคุณภาพได้ทราบความหมายของการประกันคุณภาพ สาระสำคัญต่างๆ ในการประกันคุณภาพ

ครั้งที่ 3 คุณธรรมจริยะธรรมและธนาคารความดี
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนการสอน คือ ความหมายของคุณธรรมในยุคต่างๆ เช่น โสเคติสได้กล่าวไว้ว่า คุณธรรมที่แท้จริงมีค่าอยู่ในตัวมันเอง คือ ทำให้ผู้ครอบครองความดีเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ หรือ ยุคของ เพลโต คุณธรรมต้องตั้งอยู่บนความรู สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นคุณธรรม เช่น ความกล้าหาญ ความดี ความยุติธรรม

ครั้งที่ 4 การเงินส่วนบุคคล
ได้ทราบถึงขั้นตอนและแบบแผนการบริหารการเงินและ แบบแผนในการดำเนินชีวิตในแง่มมุมต่างๆ เช่น เมื่ออายุ 0-25 ปี คนเราจะมีช่วงชีวิตที่ถูกรองรับด้วย บิดา มารดา 25-60 ปี จะอยู่ด้วยรายได้ของตนเอง 60 ขึ้นไปจะได้รับการเลี้ยงดูจากลูกหลาน และคำกล่าวที่ทำให้ผมสะเทือนใจ “พ่อ แม่ หนึ่งคนเลี้ยงลูกหลายคนได้ แต่ ลูกหลายคนเลี้ยงพ่อแม่คนเดียวไม่ได้”

ครั้งที่ 5 การพัฒนาบุคคลิกภาพ
ทราบถึงคุณลักษณะของนักศึกษาว่าประกอบไปด้วย บุคคลิกดี มีน้ำใจ ใฝ่หาความรู้ เชิดชูองค์กร สมานสามัคคี และคุณลักษณะของนักศึกษา / บัณฑิต ที่พึงประสงค์

ครั้งที่ 6 ธุรกิจอัจฉริยะ Business Intelligence
สอนให้เรารู้การเคลื่อนและการเปลี่ยนแปลงของการเทคโนโลยีต่างๆ การประยุก์เทคโนโลยีให้ชีวิประจำวันและองค์ประกอบของ Business Intelligence คือ ขั้นตอนที่ 1 ดาต้า เฮาล์ ขั้นตอนที่ 2 ดาต้ามาร์ท ขั้นตอนที่ 3 การทำ

ครั้งที่ 7 วัฒนธรรมข้ามชาติ
วัฒนธรรมข้ามชาติคือ การแพร่วัฒนธรรมต่างๆไปสู่ชาติอื่นๆ ศาสนาอื่นๆ จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมข้ามชาติเกิดขึ้น ระดับของวัฒนธรรม เริ่มจากวัฒนธรรมระดับชาติ >>>> วัฒนธรรมทางธุรกิจ >>>> วัฒนธรรมการค้าและวิชาชีพเป็นต้น

ครั้งที่ 8 กิจกรรมแขนงธุรกิจระหว่างประเทศ
วิทยากรได้นำประสบการต่างๆมาบอกเล่าเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นโอกาสที่ได้รับข้าราชการทหาร หรือ การได้ก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจขายตรงของ บริษัทแอมเวย์ ซึ่งเรื่องราวต่างๆที่ได้รับมานี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันที่ต้อง ไขว่คว้าโอกาส อย่ารอให้โอกาส มาหาเรา


ครั้งที่ 9 ภาษาไทย
ภาษา คือ เสียงหรือ กิริยาท่าทางที่ทำความเข้าใจกันได้ หรือ คำพูดท่ใช้พูดจากัน
ประเภทของภาษา วัจนภาษา คือ ภาษาพูดหรือ ภาษาเขียน
อวัจนภาษา คือ ภาษากาย สัญลักษณ์ การแสดงออกทางสีหน้า
ระดับภาษา ระดับพิธีการ ระดับราชการ ระดับกึ่งราชการ ระดับสนทนา ระดับกันเอง
ทั้งหมดนี้คือความรู้ที่ผมได้รับในการเรียนคร้งที่ 9

ครั้งที่ 10 ปัจฉิมนิเทศ
พระอาจารย์ให้การเทศนา ในเรื่องการดำเนินชีวิตที่ดีมีสุข สอดแทรกคติธรรมต่างๆ และบทกลอนสุดประทับใจ
อย่า >> ทำเมื่อพลาดพลั้ง
ทำ >> ความหวังใหม่
นม >> นานซักเพียงใด
หก >> ล้มเพียงชั่วคราว

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การแทนนิพจน์ใน Experssion tree

การแทนนิพจน์ใน Experssion tree

จากโจทย์ infix : K*P-E/M+(1-L*P)-D








DTS 8-19/8/52

TREE

ทรี หรือโครงสร้างข้อมูลแบบต้นไม้ ประกอบด้วยโหนด (node) ซึ่งเป็นส่วนที่เก็บข้อมูล ในทรีหนึ่งทรีจะประกอบไปด้วยรูทโหนด (root node) เพียงหนึ่งโหนด แล้วรูทโหนดสามารถแตกโหนดออกเป็นโหนดย่อยๆ ได้อีกหลายโหนดเรียกว่าโหนดลูก (Child node) เมื่อมีโหนดลูกแล้ว โหนดลูกก็ยังสามารถแสดงเป็นโหนดพ่อแม่ (Parent Node) โดยการแตกโหนดออกเป็นโหนดย่อยๆได้อีก



Root Node จากรูป คือ โหนด A
Child Node หรือ โหนดลูก จากรูป B , C , D และ E เป็น โหนดลูกของ A
Parent Node หรือโหนดพ่อแม่ โหนด B ที่เป็นโหนดลูกของโหนด A ก็สามารถแตกออกเป็นโหนดย่อยๆ ได้แก่ F และ G ดังนั้น B จึงเป็นโหนดพ่อแม่ของ F และ G ในทำนองเดียวกัน A ก็เป็นโหนด พ่อแม่ของ B , C , D และ E
กิ่ง (Branch or Edge) เป็นเส้นที่เชื่อมต่อระหว่างโหนดพ่อแม่กับโหนดลูก
Brother Node หรือโหนดพี่น้อง คือ โหนดที่มีพ่อแม่เดียวกัน เช่น B , C , D , E เป็นโหนดพี่น้องกันเพราะมีโหนดพ่อแม่เดียวกัน คือ โหนด A และ F และ G เป็นโหนดพี่น้องกันโดยมี B เป็นโหนดพ่อแม่
Leaf Node คือ โหนดที่ไม่มีโหนดลูก จากรูปโหนดที่ไม่มีโหนดลูก ได้แก่ F G H I J K L M
Branch Node คือ โหนดที่ไม่ใช่ Leaf Node เช่น โหนด B C D E เรียกว่า Branch Node
Degree คือ จำนวนลูกของโหนด x เช่น degree ของ โหนด A = 4 ได้แก่ B C D E จำนวน degree ของโหนด B = 2 จำนวนdegree ของโหนด F = 0 เนื่องจากโหนด F ไม่มีโหนดลูก
Direct Descendant Node คือโหนดที่มาทีหลังทันที จากรูป B C D E เป็น direct descendant node ของโหนด A เพราะเป็นโหนดที่มาทีหลังทันที
Descendant Node คือ โหนดลูกของโหนด x และโหนดที่ทุกโหนดที่แตกจากโหนดลูกของโหนด x ตัวอย่าง descendant ของโหนด A คือ ทุกโหนดที่เหลือในทรี
Direct Ancestor Node หรือโหนดที่มาก่อนทันที ตัวอย่าง Direct Ancestor ของโหนด H คือ โหนด C , Direct Ancestor ของโหนด C คือ โหนด A
Level หรือระดับ คือ หมายเลขแสดงระดับของโหนดในทรี ซึ่งรูทโหนดจะมีค่า Level = 0 ส่วนโหนดลูกของรูทโหนดก็จะมีค่า = 1 หากค่าโหนด x อยู่ในระดับ L โหนดลูกของ x ก็จะอยู่ในระดับ L+1

Binary Tree มีลักษณะเหมือนกับ Tree ปกติแต่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ “แต่ละโหนดจะมีโหนดลูกได้ไม่เกิน 2 โหนด” หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ แต่ละโหนดใน binary tree จะมีดีกรีได้ไม่เกิน 2

Complete Binary Tree หรือต้นไม้ไบนารีแบบสมบูรณ์ มีลักษณะคล้ายกับ Binary Tree แต่มีข้อพิเศษ คือ
1. ทุกโหนดที่ไม่ใช่ Leaf Node จะต้องมีโหนดลูก 2 โหนด
2. Leaf Node จะต้องอยู่ในระดับเดียวกัน


Binary Search Tree มีลักษณะคล้ายกับ Binary Tree แต่มีลักษณะพิเศษเพิ่มเติม คือ


1. ค่าของรูทโหนดมีค่ามากกว่าค่าในต้นไม้ย่อยซ้าย ( TL <>

2. ค่าของรูทโหนดมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าในต้นไม้ย่อยขวา ( R <= TR ) ตัวอย่าง Binary Search Tree การสร้างและเพิ่มข้อมูลใน Binary Search Tree วิธีการสร้างและเพิ่มข้อมูลเริ่มจาก

1. ถ้า Binary Search Tree ยังไม่มีข้อมูล ให้โหนดที่เข้ามาใหม่เป็นรูทโหนดของ Binary Search Tree

2. ถ้า Binary Search Tree มีข้อมูลอยู่ ให้เพิ่มโหนดที่เข้ามาดังนี้

2.1 ถ้าค่าของโหนดใหม่ที่เข้ามา มากกว่า ค่าของรูทโหนด ให้เพิ่มโหนดใหม่ลงในต้นไม้ย่อยด้านขวา

2.2 ถ้าค่าของโหนดใหม่ที่เข้ามา น้อยกว่า ค่าของรูทโหนด ให้เพิ่มโหนดใหม่ลงในต้นไม้ย่อยด้านซ้าย ตัวอย่างการสร้างและเพิ่มข้อมูล Binary Search Tree มีค่าข้อมูลดังนี้ 12 , 9 , 2 , 18 , 23, 11 , 14 การลบข้อมูลใน Binary Search Tree กรณีที่ 1 หากโหนดที่ต้องการลบเป็น Leaf Node สามารถลบได้ทันที กรณีที่2 ถ้าโหนดที่ต้องการลบมีต้นไม้ย่อยเพียงด้านเดียว เมื่อลบโหนดที่ไม่ต้องการทิ้งแล้ว ให้นำค่ารูทโหนดของต้นไม้ย่อยไปแทนที่โหนดที่ลบทิ้งไป กรณีที่3 ถ้าโหนดที่ต้องการลบมีต้นไม้ย่อยทั้งสองด้าน เมื่อลบโหนดที่ไม่ต้องการแล้ว มีวิธีให้เลือกทำอยู่ 3 วิธี คือ

1. นำค่าที่น้อยที่สุดของต้นไม้ย่อยขวาไปแทนที่โหนดที่ลบทิ้งไป

2. นำค่าที่มากที่สุดของต้นไม้ย่อยซ้ายไปแทนที่โหนดที่ลบทิ้งไป

3. นำค่ารูทโหนดของต้นไม้ย่อยขวาไปแทนที่โหนดที่ลบทิ้งไป แล้วนำค่ารูทโหนดของต้นไม้ย่อยซ้ายไปเป็นโหนดลูกทางซ้ายของโหนดที่มีค่าน้อยที่สุดของต้นไม้ย่อยขวา ตัวอย่างการลบโหนดใน Binary Search Tree

กรณีที่ 1 ต้องการลบโหนด 8

กรณีที่ 2 ต้องการลบโหนด 3

กรณีที่3 ต้องการลบโหนด 2 การท่องไปในทรี (Tree Traversal) สามารถท่องเข้าไปในทรีเพื่อดูข้อมูล ได้ 3 วิธีด้วยกันคือ

1. Preorder

2. Inorder

3. Postorder ในการท่องเข้าไปในทรีแต่ละแบบจะใช้สัญลักษณ์ดังนี้ Root = root node Left = ต้นไม้ย่อยซ้ายของ Root Right = ต้นไม้ย่อยขวาของ Root วิธีในการท่องเข้าไปในทรีแต่ละแบบจะมีลักษณะดังนี้

1. Preorder = Root Left Right

2. Inorder = Left Root Right

3. Postorder = Left Right Root

DTS-07 05/08/52

Queue

โครงสร้างข้อมูลแบบคิว (Queue)

คิวเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบหนึ่งซึ่งมีลักษณะที่ว่า ข้อมูลที่นำเข้าไปเก็บก่อนจะถูกนำออกมาทำงานก่อน ส่วนข้อมูลที่เข้าไปเก็บทีหลังก็จะถูกนำออกมาใช้งานทีหลัง ขึ้นอยู่กับลำดับการเก็บข้อมูล จะเรียกลักษณะการทำงานแบบนี้ว่า เข้าก่อนออกก่อน หรือ First In First Out (FIFO)
โครงสร้างข้อมูลแบบนี้เป็นโครงสร้างที่ปรากฏอยู่โดยทั่วๆ ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ในระบบคมนาคม รวมทั้งในระบบการทดลองดาวเทียมด้วย ลักษณะของโครงสร้างแบบคิวจะเหมือนกับการเข้าแถวรอคอย ไม่ว่าจะเป็นการรอคอยอะไรก็ตาม หรือจะเรียกสั้นๆ ว่า เข้าคิวก็ได้ ด้วยคุณสมบัติที่เด่นชัดของการทำงานของโครงสร้างข้อมูลแบบคิวนี้ ว่าสิ่งใดที่เข้าก่อนย่อมต้องได้รับการทำงานก่อน เช่น การสั่งพิมพ์งานพร้อมกันหลายๆ คน โดยใช้เครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกัน ทำให้ระบบจะต้องมีการจัดระบบให้มีการเข้าคิวรอคอยการทำงาน ถ้าใครสั่งพิมพ์ก่อนก็จะเข้าคิวไปรอการพิมพ์ในลำดับแรก ใครสั่งเป็นคนต่อไปก็จะต้องเข้าคิวรอจนกว่างานแรกจะทำการพิมพ์เสร็จ จึงจะมาทำงานกับคิวที่รออยู่ต่อไป







กระบวนการทำงานของ queue จะแบ่งเป็น 9 ขั้นตอนได้แก่


1. Create

2. Enqueue

3. Dequeue

4. Queue front

5. Queue rear

6. Empty queue

7. Full queue

8. Queue count

9. Destroy queue



ต่อไปเราจะมาดูว่ากระบวนการแต่ละขั้นตอนมีการทำงานอย่างไร

Create queue: สร้าง queue คือจัดสรรหน่วยความจำเพื่อทำการสร้าง Queue ขึ้นมา
สำหรับการใส่ข้อมูลลงไป

Enqueue: คือการเพิ่มข้อมูลลงไปใน Queue แต่ข้อควรระวังในการ เพิ่มข้อมูลลงไปใน Queue
เราควรเช็ค ใน Queue ว่าข้อมูลนั้นเต็มหรือไม่ ถ้า ไม่เราก็สามารถ Enqueue ได้ แต่
ถ้าข้อมูลเต็มแล้วเรายังใส่ข้อมูลลงไปจะทำให้เกิด การ ล้นของข้อมูลเกิดขึ้นหรือเรียก
กันว่าการ Overflow

Dequeue: คือการลบรายการออกจาก Queue แต่ข้อควรระวังในการ ลบขอมูลออกจาก Queue
เราควรเช็ค ใน Queue ว่ามีข้อมูลอยู่หรือไม่ ถ้า มีเราก็สามารถ Dequeue ได้ แต่
ถ้าไม่มีข้อมูลอยู่ใน Queue จะทำให้เกิด การ Under Flow เกิดขึ้น

Queue front: เป็นการเรียกข้อมูลตัวหน้าหรือ front มาออกมา Show


Queue rear: เป็นการเรียกข้อมูลตัวหลังหรือ rear มาออกมา Show



Empty queue: ตรวจสอบว่าข้อมูล queue ว่างหรือไม่


Full queue: ตรวจสอบว่าข้อมูลใน queue เต็มหรือไม่


Queue count: จะทำการนับข้อมูล และบอกจำนวนรายการใน queue


Destroy queue: เป็นการลบข้อมูลทั้งหมดใน queue